วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อุปกรณ์ตกปลา

อุปกรณ์...กับ...การตกปลา  โดยส่วนตัวผมแล้วทุกวันนี้ที่ออกตะลอนๆ ตกปลาไปทั้ว ทั้งธรรมชาติหรือบ่อตกปลา สิ่งที่สามารถพบได้บ่อยคือ อาการ "แห้ว" รัปทานบางครั้งบางทริปออกเดินทางแต่เช้าออกแต่ดึกแต่ดื่น เพื่อที่จะแสวงหาปลาตกแต่บ่อยครั้งที่กลับพบว่าหาปลาไม่เจอ หรือได้เย่อกันแค่ตัวหรือสองตัวเท่านั้น

อุปกรณ์..กับ..การตกปลา เกี่ยวข้องอะไรด้วย หลายท่านอ่านมาข้างต้นคงจะงงกับหัวข้อ ทีนี้ในเมื่อปลาหายากขึ้น จำนวนปลาที่หลงงมงายในเหยื่อเรามาติดเบ็ดน้อยลงในแต่ละวัน ทำให้ผมต้องหาความสุขให้ได้ในจำนวนที่จำกัดจำเขี่ยเช่นนี้ วิธีที่จะเติมเต็มความสุขของท่านได้ก็คือ อรรถรสในการอัดปลา  ความเสียวซ่านกำซาบถึงแรงดึงแรงยื้อยุดฉุดกระชาก ความหฤหรรในการลุ้นในการต่อสู้กับปลาที่มาหลงไหลในเหยื่อ ปลาเพียงแค่ตัวหรือสองตัวอาจทำให้เราๆอิ่มเอมกับลีลาการต่อสู้ ความสนุกสนานในการตกปลาได้อย่างเหลือเชื่อ........

เริ่มต้นง่ายๆด้วยการจัดชุดอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับขนาดของปลาที่เราจะตก (อาจทำให้สิ้นเปลืองเงินทองมากไปหน่อย เนื่องจากจะต้องมีอุปกรณ์มากกว่า 1 ชุดแน่ๆ )

อย่างเช่นการตกปลาช่อน......จากสาย Dyneema , Pe, Spectra  20,30 ปอนด์ ลดลงมาเหลือ 10 ปอนด์หรือไกล้เคียงกว่านั้น หรือไม่คืนสู่สามัญด้วยสายเอ็น  6-8-10  ปอนด์ คันเวทอ่อนๆแต่ทรงประสิทธิภาพด้วยแรงงัด  วันนั้นปลาช่อนธรรมดาอาจกลายเป็นช่อนทะเลไปได้

หรือปลากระพง...จากสายผ้าสายเชือกแรงดึงสุงๆ ลดลงมาให้เหลือ 10 - 15 ปอนด์ คันเอาแค่ Medium - Medium Light ตั้งเบรคแค่พอประมาณ ปลากระพงธรรมดาจะแปลงร่างเป็นกระพงยักษ์แห่งแม่น้ำไนล์ เลยก้อได้

บางทีเมื่อเราลดชุดอุปกรณ์ลงมาให้ พอเหมาะพอควรกับขนาดของปลาที่เราตก มันจะกลายเป็นเกมส์ที่สนุกสนาน ความสนุกสนานกับจำนวนปลาที่ได้อาจไม่ใช่ความมันส์ที่แท้จริง.......ความสนุกที่สุดยอดคือ "อรรถรสในการอัดปลา"ที่หลงลืมไปนั่นเอง......

(ทั้งหมดนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลที่นำมาเล่าสู่กันฟังนะฮะ)












วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ข้อดีของการออกกำลังกาย


ก่อนออกกำลังกาย

 

            ทราบหรือไม่ว่าการออกำลังกายมีข้อดีอย่างไร วันนี้เรามีข้อดีของการออกกำลังกายมาบอก…
          1. ช่วยชะลอความเสื่อมของสมอง
          สมองก็เหมือนกับอวัยวะส่วนอื่น ๆ ที่มีการเสื่อมลงตามวัย แต่การออกกำลังกายช่วยชะลอความเสื่อมของสมองได้ ทำให้สามารถคิดและจดจำได้ดีกว่าคนที่ไม่ออกกำลังกายนอกจากนี้การออกกำลังเป็นประจำ ยังทำให้ดูกระฉับกระเฉง มีสมาธิในการเรียนรู้ได้ดีกว่า
          2. ทำให้กระดูกแข็งแรงหนาขึ้น
          การกินแคลเซียมเพียงอย่างเดียว ไม่ได้ช่วยให้กระดูกแข็งแรงขึ้น ควรอออกกำลังกายควบคู่ไปกับการกินอาหารที่มีแคลเซียมสูง
          3. ทำให้ผิวสวย
          การออกกำลังกายจะช่วยนำออกซิเจนเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายได้มากขึ้น ยิ่งร่างกายได้รับออกซิเจนมากขึ้นเพียงใด ก็จะยิ่งช่วยต่อต้านการเกิดอนุมูลอิสระได้มากขึ้นเท่านั้น จึงช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ได้ ทำให้ผิวพรรณสดใสขึ้น
          4. ลดความเครียด
          การออกกำลังกาย ช่วยลดความวิตกกังวล ผ่อนคลายความเครียดได้ เนื่องจากในระหว่างการออกกำลังกาย ร่างกายจะหลั่งสารเอนดอร์ฟินส์หรือสารแห่งความสุข ทำให้รู้สึกสดชื่นขึ้น นอกจากนี้การที่ร่างกายได้เคลื่อนไหว จิตใจก็ได้เคลื่อนไหวไปด้วย   ทำให้ไม่หมกมุ่นอยู่กับเรื่องที่กังวลอยู่ ส่วนการออกกำลังกายแต่ละชนิด มีผลต่อสมองต่างกันการออกกำลังกายชนิดที่เกี่ยวข้องกับการทำสมาธิ เช่น โยคะ หรือไทเก๊ก จะช่วยผ่อนคลายความเครียดในสมองได้มากกว่า การออกกำลังกายประเภทที่ต้องออกแรงมากๆ
          5. ช่วยผ่อนคลายภาวะการปวดประจำเดือน
          วิธีธรรมชาติที่ช่วยรักษาอาการปวดท้องเมนได้ดีที่สุด คือการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอไม่ว่าจะเป็นการวิ่ง ว่ายน้ำ หรือแอโรบิค ถ้าไม่มีเวลาก็ออกกำลังง่าย ๆ ด้วย การซิท-อัพตอนเช้าก็ได้ ยิ่งใกล้รอบเดือน ก็ยิ่งควรซิท-อัพไว้ล่วงหน้า เพราะจะช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้นและช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณมดลูกมีความยืดหยุ่นทำงานได้ดีขึ้น
          6. ลดอาการท้องผูก
          การออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเป็นการเดินเร็ว ๆ การวิ่งเหยาะ การว่ายน้ำ หรือปั่นจักรยาน จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้ระบบขับถ่ายได้ระบายของเสียและสารพิษออกจากร่างกาย
มากขึ้น
          7. ทำให้หลับง่ายขึ้น
          การออกกำลังกายในช่วงเย็น ช่วยให้หลับได้ง่ายขึ้น เนื่องจากการออกกำลังกายมีผลโดยตรงกับระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย
          8. ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
          การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้กล้ามเนื้อแต่ละส่วนแข็งแรง ทำให้หุ่นกระชับสมส่วน

หลังการออกกำลังกาย

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

 การปฐมพยาบาล หมายถึง การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ณ สถานที่เกิดเหตุ โดยใช้อุปกรณ์เท่าที่จะหาได้ในขณะนั้น นำมาใช้ในการรักษาเบื้องต้น ควรทำการปฐมพยาบาลให้เร็วที่สุดหลังเกิดเหตุโดยอาจทำได้ในทันที หรือระหว่างการนำผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บไปยังโรงพยาบาลหรือสถานที่รักษาพยาบาลอื่นๆ เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วย หรืออาการบาดเจ็บนั้นๆ ก่อนที่ผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจะได้รับการดูแลรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์ หรือถูกนำส่งไปยังโรงพยาบาล
     การปฐมพยาบาล มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ
          1. เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย หรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุต่างๆในขณะนั้น
          2. เพื่อเป็นการลดความรุนแรงของอาการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย
          3. เพื่อทำให้บรรเทาความเจ็บปวดทรมานของผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ และช่วยให้กลับสู่สภาพเดิมโดยเร็ว
          4. เพื่อป้องกันความพิการ หรือความเจ็บปวดอื่นๆที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลัง

     ขอบเขตของผู้ทำการปฐมพยาบาล
     ผู้ปฐมพยาบาลมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยฉุกเฉินเท่านั้น จะหมดหน้าที่เมื่อผู้บาดเจ็บปลอดภัยหรือได้รับการรักษาจากแพทย์หรือสถานพยาบาลแล้ว ขอบเขตหน้าที่ของผู้ปฐมพยาบาลมี 2 ประการใหญ่ ๆ คือ
     1. วิเคราะห์สาเหตุและความรุนแรงของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการช่วยเหลือได้ถูกต้อง มีขั้นตอนดังนี้
          1.1 ซักประวัติของอุบัติเหตุ จากผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์หรือผู้บาดเจ็บที่รู้สึกตัวดี
          1.2 ซักถามอาการผิดปกติหลังได้รับอุบัติเหตุ เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดมากที่บริเวณใด ฯลฯ
          1.3 ตรวจร่างกายผู้บาดเจ็บทุกครั้งก่อนให้การปฐมพยาบาล โดยตรวจตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า เพื่อค้นหาสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น เช่น อาการบวม บาดแผล กระดูกหัก เป็นต้น
     2. ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ โดยช่วยเป็นลำดับขั้นดังนี้
          2.1 ถ้าผู้บาดเจ็บอยู่ในบริเวณที่มีอันตรายต้องเคลื่อนย้ายออกมาก่อน เช่น ตึกพังถล่มลงมา ไฟไหม้ในโรงภาพยนต์ เป็นต้น
          2.2 ช่วยชีวิต โดยจะตรวจดูลักษณะการหายใจว่ามีการอุดตันของทางเดินหายใจหรือไม่ หัวใจหยุดเต้นหรือไม่ ถ้ามีก็ให้รีบช่วยกู้ชีวิตซึ่งจะกล่าวในตอนต่อไป
          2.3 ช่วยมิให้เกิดอันตรายมากขึ้น ถ้ามีกระดูกหักต้องเข้าเฝือกก่อน เพื่อมิให้มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อมากขึ้น ถ้ามีบาดแผลต้องคลุมด้วยผ้าสะอาด เพื่อมิให้ฝุ่นละอองเข้าไปทำให้ติดเชื้อ ในรายที่สงสัยว่ามีการหักของกระดูกสันหลัง ต้องให้อยู่นิ่งที่สุด และถ้าจะต้องเคลื่อนย้ายจะต้องให้แนวกระดูกสันหลังตรง โดยนอนราบบนพื้นไม้แข็ง มีหมอนหรือผ้าประคองศีรษะมิให้เคลื่อนไหว ให้คำปลอบโยนผู้บาดเจ็บ ให้กำลังใจ อยู่กับผู้บาดเจ็บตลอดเวลา พลิกตัว หรือ จับต้องด้วยความอ่อนโยนและระมัดระวัง ไม่ละทิ้งผู้บาดเจ็บอาจต้องหาผู้อื่นมาอยู่ด้วยถ้าจำเป็น

ตำรวจกับการสืบสวนอุบัติเหตุทางถนน

มิติใหม่ : ตำรวจกับการสืบสวนอุบัติเหตุทางถนน

จุดประกาย

นับได้ว่าเป็นครั้งแรกของการทำงานด้านความปลอดภัยทางถนนที่ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรซึ่งเป็นประธานในการสัมมนาอยู่ร่วมการสัมมนาตลอดกระบวนการตั้งแต่วันแรกจนถึงวันที่ 3 ถึงแม้ว่าจะมีงานด่วนที่จะต้องดำเนินการในระหว่างที่มีการจัดสัมมนานั้น พล.ต.ท.วรพงษ์  ชิวปรีชา ผู้ช่วย ผบ.ตร.ที่รับผิดชอบงานจราจรในขณะนั้น(22 กุมภาพันธ์2553)เลือกที่จะใช้วิธีการขับรถไป-กลับระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับโรงแรมอิมพิเรียล หัวหินเพื่อให้สามารถมีส่วนร่วมกับการจัดสัมมนาในกลุ่มผู้บริหารตำรวจระดับรองผู้บัญชาการภาค และรองผู้บังคับการทั่วประเทศที่รับผิดชอบงานจราจรเพื่อให้ได้ข้อสรุปในการพิทักษ์ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจากการเกิดอุบัติเหตุทางถนน
เมื่อผู้นำตำรวจเข็มแข็ง เอาจริงเอาจัง มุ่งมั่นเช่นนี้ ทำให้บรรยากาศของที่ประชุมในวันนั้นเป็นบรรยากาศของการจุดประกายในการสร้างแรงบันดาลใจของเหล่าบรรดานายตำรวจใหญ่ให้ร่วมคิดหาแนวทางในการทำงานก้าวต่อไปเพื่อลดจำนวนคนตายบนถนนที่สูงกว่าการตายจากคดีอาชญากรรมถึง4เท่าให้ลดลงให้จงได้ พล.ต.ท.วรพงษ์ฯกล่าวสรุปในที่ประชุมถึงการปรับทิศทางการทำงานใหม่โดยจะตั้งทีมสืบสวนอุบัติเหตุเพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุในแต่ละครั้ง (http://www.prachuppost.com/ ค้นหาวันที่ 18 กรกฎาคม 2554)
นับตั้งแต่การประชุมสัมมนาครั้งนั้นเป็นต้นมาได้มีการจัดประชุมขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่ของผู้บริหารตำรวจอันเป็นผลเนื่องมาจากฤดูการแต่งตั้งโยกย้าย แต่มิได้เป็นอุปสรรคจนทำให้การดำเนินการตามเจตนารมณ์ที่ถูกจุดประกายขึ้นที่หัวหินโดยมุ่งหวังในการพัฒนาและขับเคลื่อนการแก้ไขและป้องกันอุบัติเหตุทางถนนเชิงระบบในส่วนของตำรวจหยุดชะงัก หากแต่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องผ่านการสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายภาคส่วนต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน(ศวปถ.)ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเต็มที่ในทุกๆด้าน
แรงเชียร์จากภาคีภาคส่วนต่างๆเกิดขึ้นเนื่องมาจากความต้องการที่จะเห็น “พลังของตำรวจในบทบาทพี่ใหญ่” ที่ลุกขึ้นมาทำหน้าที่อำนวยความยุติธรรมและเสริมสร้างความปลอดภัยทางถนนให้เกิดขึ้นในสังคมไทยให้จงได้….ตำรวจไทยสู้ๆ…เชียร์


จุดเปลี่ยนที่ท้าทาย

          การร่วมหมุนกงล้อประวัติศาสตร์ในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยทางถนนถูกดำเนินการภายใต้ชื่อโครงการ “การพัฒนาระบบสืบสวนอุบัติเหตุเพื่อการแก้ไขและป้องกันอุบัติเหตุทางถนนอย่างบูรณาการ” โดยมีกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1-9 กองบัญชาการตำรวจนครบาล และศูนย์ปฏิบัติการชายแดนภาคใต้สมัครใจเข้าร่วมโครงการนำร่องเพื่อทดสอบวิธีคิดที่ถูกตั้งต้นผ่านการประชุมหารือครั้งแล้วครั้งเล่าก่อนที่จะได้ข้อสรุปในการจัดทำร่างโครงการโดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการจากสสส. สอจร.และบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
“เราจะเริ่มต้นที่การบริหารจัดการภายในองค์กรตำรวจก่อน จากนั้นต่อด้วยการบริหารจัดการภายนอกหน่วยโดยการเชื่อมภาคีเครือข่ายสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อรวมพลังกัน” นายตำรวจใหญ่ได้ข้อสรุปที่สอดคล้องตรงกันทำให้เกิดกระบวนการที่สำคัญเปรียบดั่งบันได 6 ขั้น
ขั้นแรก           เปิดพื้นที่ใหม่ให้กลุ่มพนักงานสอบสวน
การวางระบบให้พนักงานสอบสวนทำงานร่วมกับตำรวจจราจรเพื่อสืบสวนสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุนั้น นับได้ว่าเป็นการเปิดพื้นที่ให้กับกลุ่มพนักงานสอบสวนซึ่งถือได้ว่าเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับกฎหมายและมีประสบการณ์ที่มากมายเกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวนหาผู้ขับรถหรือผู้กระทำโดยประมาทในอุบัติเหตุจราจรทั้งที่มีผู้บาดเจ็บหรือผู้เสียชีวิตให้ได้เข้ามามีบทบาทที่สำคัญในการร่วมคิด วิเคราะห์สาเหตุและการหาแนวทางในการแก้ไขและป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ซึ่งในอดีตที่ผ่านมานั้น พื้นที่ของการแก้ไขและป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในมุมมองของคนส่วนใหญ่ในสังคมนั้นพุ่งไปที่ตำรวจจราจรเท่านั้น ทำให้สูญเสียโอกาสในการใช้ศักยภาพที่สูงมากของตำรวจสายงานสอบสวนในการร่วมขับเคลื่อนงานด้านอุบัติเหตุทางถนน
การที่องค์กรตำรวจเปิดพื้นที่ให้กับพนักงานสอบสวนให้เข้ามามีบทบาทในการดำเนินงานในส่วนนี้จึงนับได้ว่า “ตำรวจเปิดใจ” อย่างมากกับงานอุบัติเหตุทางถนน ทั้งนี้เนื่องจากเป็นที่ทราบกันอย่างดีว่าพนักงานสอบสวนมีภาระงานที่หนักและมีจำนวนบุคลากรที่อาจเรียกได้ว่าขาดแคลนเมื่อเทียบกับงานที่ต้องทำในสายงานฝ่ายอื่นๆ
อีกทั้งการเข้ามามีส่วนร่วมของพนักงานสอบสวนในครั้งนี้ยังเป็นการส่งสัญญาณที่ดีขององค์กรตำรวจที่แสดงให้เห็นถึงความพร้อมที่จะทำให้คดีอุบัติเหตุทางถนนเป็นคดีที่สำคัญและต้องควบคุมให้ลดจำนวนลงให้ได้เช่นเดียวกับคดีอาชญากรรม
สาเหตุของการเจ็บการตายจากอุบัติเหตุทางถนนจะถูกนำมาแก้ไขและป้องกันอย่างตรงจุด ตรงเป้าหมายบนพื้นฐานข้อมูลที่มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า “แบบรายงานการสืบสวนอุบัติเหตุจราจร”

ขั้นที่สอง        การบริหารจัดการข้อมูล
ทันทีที่ออกเวรข้อมูลจากการสืบสวนอุบัติเหตุจราจรจะถูกส่งต่อให้กับเจ้าหน้าที่ธุรการเพื่อบันทึกข้อมูลลงในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถประมวลผลได้ทันทีทั้งในระดับสถานีตำรวจ(อำเภอ) ระดับกองบังคับการ(จังหวัด) ระดับกองบัญชาการ(ภาค) และระดับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.)
รูปแบบของการประมวลผลข้อมูลนั้นสามารถประมวลผลได้ทั้งในรูปแบบข้อมูลเชิงปริมาณซึ่งเป็นตัวเลข/สถิติ ข้อมูลเชิงคุณภาพซึ่งเป็นรายละเอียดของสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ ลักษณะการเกิดเหตุ ความรุนแรงและบริบทแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการประมวลแผนที่จุดเกิดเหตุและภาพถ่ายต่างๆ
ขั้นที่สาม        ชวนผู้บริหารระดับสถานีตำรวจหมกมุ่น ครุ่นคิดเรื่องอุบัติเหตุจราจร
การส่งต่อข้อมูลที่มีประสิทธิภาพจากขั้นที่1มาจนถึงขั้นที่ 3 นี้ถือได้ว่าเป็นการจัดการความรู้ที่เกิดขึ้นในระดับสถานีตำรวจ นับเป็นประวัติศาสตร์ที่ต้องจารึกไว้อีกเช่นกันสำหรับการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบที่เกิดขึ้นในลักษณะของการนำข้อมูลและความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุทางถนนมาประชุม พูดคุยปรึกษาหารือกันโดยเริ่มต้นจาก 4 เสือของสถานีตำรวจซึ่งประกอบด้วย หัวหน้าสถานีตำรวจ รองผู้กำกับทั้งสายงานสืบสวนสอบสวน สายงานป้องกันปราบปราม/จราจร และสารวัตรจราจร ตลอดจนการนำข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดอุบัติเหตุจราจรในพื้นที่เข้าพิจารณาในที่ประชุมบริหารสถานีตำรวจในแต่ละสัปดาห์หรือในระยะเวลาที่เหมาะสม
การเคลื่อนไหวในการดำเนินการลักษณะนี้สอดคล้องกับการก่อเกิดของวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์การ(Safety culture in organization)ที่ประกอบด้วยกลไกที่สำคัญ 3 องค์ประกอบคือ การนำความรู้มาปรึกษาแนะนำซึ่งกันและกัน(coaching) การช่วยเหลือสนับสนุนในทุกวิถีทางเพื่อให้เกิดการดำเนินการแก้ไขและป้องกันอุบัติเหตุจราจร(caring) และการกำกับ ติดตามเพื่อให้เกิดพัฒนาการที่ดีของการสร้างความปลอดภัยให้ยั่งยืน(controlling)
ดังนั้น การก้าวครั้งนี้ของตำรวจจึงนับได้ว่าเป็นการก้าวครั้งใหญ่และสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีการก้าวตามไปพร้อมๆกันเพื่อร่วมทีม รวมถึงการสนับสนุนให้การก้าวเดินในครั้งนี้เป็นไปอย่างมั่นคง

ขั้นที่สี่            คิดแล้วต้องทำ
คิดแล้วทำ คือหลักการที่สำคัญในขั้นตอนนี้ ทั้งนี้การลงมือทำของตำรวจในโครงการนี้มุ่งเน้นการปฏิบัติการแก้ไขและป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในระดับพื้นที่บนพื้นฐานข้อมูลที่ได้มาจากการวิเคราะห์สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจราจรที่เกิดขึ้น  ดังนั้นทุกการกระทำจึงถูกกำหนดโดยข้อมูลเบื้องต้นจากการสืบสวนอุบัติเหตุจราจร อาจเรียกได้ว่า เป็นการทำงานอย่างเป็นระบบที่แท้จริง มีเป้าหมายชัดเจน โดยที่เป้าหมายนั้นตรงสาเหตุและมีการจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนที่ชัดเจน เฉพาะเจาะจงเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ที่มีบริบทที่แตกต่างกันไป การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปในลักษณะที่ผู้ทำข้อมูลเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลนั้นโดยตรง

ขั้นที่ห้า          ตำรวจแสวงหาความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย
ใน4ขั้นตอนที่ผ่านมาเป็นไปในรูปแบบของการบริหารจัดการความรู้และการดำเนินงานภายในสถานีตำรวจ ส่วนในขั้นตอนนี้เป็นการที่ตำรวจเรียนรู้ที่จะเชื่อมความสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่นๆทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนต่างๆในพื้นที่รับผิดชอบเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการแก้ไขและป้องกันอุบัติเหตุทางถนนผ่านวิธีการจัดประชุมภาคีเครือข่ายในนาม “คณะกรรมการแก้ไขและป้องกันอุบัติเหตุทางถนนระดับอำเภอ(กปถ.อำเภอ)
เริ่มต้นจากการทำหน้าที่เป็นเลขานุการในที่ประชุม การจัดเตรียมข้อมูลต่างๆเพื่อนำเข้าประชุม และการดำเนินการจัดประชุมโดยการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคีเครือข่าย รวมถึงการสร้างบรรยากาศของความร่วมมือ ร่วมใจในการสร้างความปลอดภัยทางถนนให้เกิดขึ้นในระดับอำเภอให้จงได้
เป้าหมายที่สำคัญของขั้นตอนนี้คือ การสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเพื่อให้เกิดการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยโดยปลอดพ้นจากการเพ่งโทษระหว่างองค์กรต่างๆ
จุดเปลี่ยนที่เกิดขึ้นในส่วนของตำรวจในขั้นตอนนี้คือ การเปลี่ยนแปลงบทบาทของการทำตัวเป็นเพียง “แขก”ที่ถูกเชิญเข้าไป “นั่งฟัง” หน่วยงานต่างๆประชุมปรึกษาหารือกัน กลับกลายเป็น “เจ้าภาพหลัก”ในการนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องจากสถานที่เกิดอุบัติเหตุจราจรในพื้นที่อย่างแท้จริงแล้วชวนคุย ชวนคิดเพื่อแก้ไขและป้องกันอุบัติเหตุทางถนนร่วมกันของทุกภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ซึ่งนับเป็นก้าวที่สำคัญของตำรวจในการเลื่อนสถานะจาก Passive agent เป็น Active agent ที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง

ขั้นที่หก          ส่งต่อการเรียนรู้สู่ผู้บริหารในระดับจังหวัดและระดับภาค       
การดำเนินการในแต่ละขั้นตอนจะถูกส่งต่อตามลำดับขั้นสู่การรับรู้ของผู้บริหารตำรวจ ทั้งนี้มิได้ถูกส่งต่อข้อมูลตามลำดับอย่างเชื่องช้า(Red tape) หากแต่ข้อมูลถูกส่งต่ออย่างรวดเร็วและทันทีผ่านการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่าน WEB SITE : www.roadsafetyteam.com ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้เป็นพื้นที่ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันของคนทำงานในโครงการนี้ซึ่งจากเดิมมีเพียง 64 สถานีตำรวจนำร่องและได้ขยายสู่ 134 สถานีตำรวจ
ระยะเวลาสั้นๆของการดำเนินโครงการเพียง 4เดือนซึ่งหากตัดห้วงเวลาของการเตรียมการแล้วนั้นนับได้ว่ามีการดำเนินการอย่างเต็มที่จริงเพียง 3 เดือนเท่านั้นแต่สามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงความตั้งใจจริง ความมุ่งมั่น ความทุ่มเท และความเข้มแข็งในการแก้ปัญหาและฝ่าฟันปัญหา อุปสรรคต่างๆที่ถาโถมเข้ามาเป็นระยะๆตลอดการดำเนินโครงการ
ในที่สุดตำรวจไทยก็สามารถแสดงศักยภาพของผู้ที่มีศีล สมาธิ และปัญญาในการพัฒนาและขับเคลื่อนระบบงานการสืบสวนอุบัติเหตุได้อย่างสมศักดิ์ศรี น่าภาคภูมิใจ
ในห้วงเวลาเพียง 4 เดือนมีตำรวจในทุกระดับตั้งแต่ระดับล่างสุดจนถึงระดับสูงสุดให้ความสำคัญและลงมือกระทำการโดยมีส่วนร่วมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนให้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกลไกการทำงานประจำซึ่งถ้านับจำนวนของผู้ที่ทำงานในลักษณะนี้เปรียบเทียบกับองค์กรอื่นๆแล้ว อาจจะทำให้เห็นได้ว่าตำรวจไทยคือ THE CHAMPION ที่ควรได้รับการปรบมือ! และถือเป็นการเปิดตัวของตำรวจในการก้าวสู่ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนนอย่างมืออาชีพ
          จุดเปลี่ยนที่ทีมตำรวจร่วมสร้างขึ้นมานี้จะเป็นนวัตกรรมทางการบริหารความปลอดภัยทางถนนที่ได้รับการพัฒนาและสานต่อเพื่อให้กลายเป็นการดำเนินงานในระบบปกติได้หรือไม่นั้น กลายเป็นบทพิสูจน์หนึ่งที่สำคัญของเหล่าบรรดาผู้นำความปลอดภัยทางถนนทั้งหลายว่าจะสามารถรวมพลังเพื่อร่วมกันพัฒนาระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยทางถนนซึ่งถือเป็นเสาหลักสำคัญต้นแรกจากเสาทั้ง5ต้นที่สหประชาชาติกำหนดไว้ได้มากน้อยเพียงใด

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประวัติการว่ายนำ


1162437758
           กีฬาว่ายน้ำ (Swimming) ถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง เพราะมนุษย์สามารถว่ายน้ำได้ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์ที่ตั้งภูมิลำเนาอยู่ตามชายทะเล แม่น้ำ ลำคลอง และที่ราบลุ่มต่างๆ เช่น พวกเอสซีเรีย อียิปต์ กรีก และโรมัน มีการฝึกหัดว่ายน้ำกันมาตั้งแต่ก่อนคริสตกาล เพราะมีผู้พบภาพวาดเกี่ยวกับการว่ายน้ำในถ้ำบนภูเขาแถบทะเลทรายลิบยาน
          การว่ายน้ำในสมัยนั้นเพียงเพื่อให้สามารถว่ายน้ำข้ามไปยังฝั่งตรงข้ามได้ หรือเมื่อเกิดอุทกภัยน้ำท่วมป่าและที่อยู่อาศัยก็สามารถพาตัวไปในที่น้ำท่วมไม่ถึงได้อย่างปลอดภัย
 การว่ายน้ำได้มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน แต่มีหลักฐานบันทึกไว้ไม่นานนัก Ralph Thomas ให้ชื่อแบบว่ายน้ำที่มนุษย์ใช้ว่ายกันมาตั้งแต่เดิมว่า ฮิวแมน สโตร์ก (Human stroke) นอกจากนี้พวกชนชาติสลาฟและพวกสแกนดิเนเวียรู้จักการว่ายน้ำอีกแบบหนึ่ง โดยใช้เท้าเคลื่อนไหวในน้ำคล้ายกบว่ายน้ำ หรือที่เรียกว่าฟล็อกคิก (Flogkick) แต่วิธีการเคลื่อนไหวของท่าแบบนี้จะทำให้ว่ายน้ำได้ไม่เร็วนัก
          การแข่งขันว่ายน้ำครั้งแรกได้จัดขึ้น วูลวิช บาร์ท (Woolwich Baths) ใกล้กับกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2416 การแข่งขันครั้งนั้นมีการแข่งขันเพียงแบบเดียวคือ แบบฟรีสไตล์ (Free style) โดยผู้ว่ายน้ำแต่ละคนจะว่ายแบบใดก็ได้ ในการแข่งขันครั้งนี้ J. Arhur Trudgen เป็นผู้ได้รับชัยชนะ โดยเขาได้ว่ายแบบเดียวกับพวกอินเดียแดงในอเมริกาใต้ คือแบบยกแขนกลับเหนือน้ำ ซึ่งเป็นวิธีการว่ายน้ำของเขาได้กลายเป็นแบบที่ได้รับความนิยมมากจนได้ชื่อว่า ท่าว่ายน้ำแบบทรัดเจน (Trudgen stroke)
         ประชาชนชาวโลกได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับการว่ายน้ำเพิ่มมากขึ้น เมื่อเรือเอก Mathew Webb ได้ว่ายน้ำข้ามช่องแคบอังกฤษจากเมืองโดเวอร์ คาเลียส เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2418 โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 21 ชั่วโมง 45 นาที ด้วยการว่ายแบบกบ (Breast stroke) ข่าวความสำเร็จอันนี้ได้สร้างความพิศวงและตื่นเต้นไปทั่วโลก ต่อมาเด็กชาวอเมริกันชื่อ Gertude Ederle ได้ว่ายน้ำข้ามช่องแคบอังกฤษ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2469 ทำเวลาได้ 14 ชั่วโมง 31 นาที โดยว่ายน้ำแบบท่าวัดวา (Crawa stroke) จะเห็นได้ว่าในชั่วระยะเวลา 50 ปี
          การว่ายน้ำได้วิวัฒนาการก้าวหน้าขึ้นเป็นอย่างมาก ถ้าหากได้พิจารณาถึงเวลาของคนทั้งสองที่ทำได้ แบบและวิธีว่ายน้ำได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดความเร็วขึ้นเสมอ ในบรรดานักว่ายน้ำทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวแลนเคเชียร ์และออสเตรเลีย ได้ดัดแปลงวิธีว่ายน้ำแบบทรัดเจน ซึ่งก็ได้รับผลดีในเวลาต่อมา กล่าวคือ Barney Kieran ชาวออสเตรเลียและ T. S. Battersby ชาวอังกฤษ ได้ว่ายน้ำแบบที่ปรับปรุงมาจากทรัดเจน เป็นผู้ครองตำแหน่งชนะเลิศของโลกเมื่อปี พ.ศ. 2449-2415
        Alex Wickham ชาวเกาะโซโลมอนเป็นผู้ริเริ่มการว่ายน้ำแบบท่าวัดวาและเป็นผู้ครองตำแหน่งชนะเลิศของโลก ระยะทาง 50 หลา เขาได้กล่าวว่าเด็กโซโลมอนทุกคนว่ายน้ำแบบนี้ทั้งนั้น ต่อมาท่าว่ายน้ำแบบวัดวาจึงเป็นที่นิยมฝึกหัดกันโดยทั่วไป
        กีฬาว่ายน้ำได้จัดเข้าไว้ในการแข่งขันโอลิมปิกเมื่อปี พ.ศ. 2436 และได้จัดการแข่งขันมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุดังกล่าวกีฬาว่ายน้ำก็ได้รับความสนใจจากคนทั่วไป และถือเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก มีการพัฒนากีฬาว่ายน้ำให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นเป็นลำดับ โดยมีผู้คิดแบบและประเภทของการว่ายน้ำเพื่อความสนุกสนาน และความตื่นเต้นในการแข่งขันมากขึ้น

กติกาว่ายน้ำ
การตัดสิน
ลำดับที่ผู้แข่งขันทุกคนจะกำหนดโดยการเปรียบเทียบเวลาที่เป็นทางการของแต่ละคนถ้าเวลาทางการเท่ากันหลายๆ คน ก็ให้ลำดับที่เท่ากันในรายการนั้นๆ ได้
ผู้ควบคุมการแข่งขัน
 ผู้ตัดสินชี้ขาด   1   คน
 กรรมการดูฟาวล์   4   คน
 ผู้ปล่อยตัว    2   คน
 หัวหน้ากรรมการดูการกลับตัว (อยู่คนละด้านของสระ)   2   คน
 กรรมการดูการกลับตัว (อยู่คนละด้านของสระ) 2   คน
 หัวหน้าผู้บันทึก   1   คน
 ผู้บันทึก    1   คน
 ผู้รับรายงานตัว   2   คน
 กรรมการเชือกฟาวล์   1   คน
 ผู้ประกาศ    1   คน
 จากการแข่งขันไม่สามารถใช้อุปกรณ์แบบอัตโนมัติได้ จะต้องมีการแต่ตั้งกรรมการเจ้าหน้าที่เพิ่มขึ้น คือ
 หัวหน้าผู้จับเวลา   1   คน
 ผู้จับเวลาลู่ละ    3   คน
 (กรรมการจับเวลาสำรอง 2 คน)
 หัวหน้าเส้นชัย    1   คน
 กรรมการเส้นชัย (อย่างน้อย)  1   คน
หน้าที่
- ผู้ตัดสินชี้ขาด เป็นผู้ควบคุมและมีอำนาจสูงที่สุด โดยจะมอบหมายหน้าที่ และให้คำชี้แนะกับเจ้าหน้าที่ต่างๆ จะต้องตัดสินปัญหาทุกชนิดการตัดสินขั้นสุดท้ายถือเป็นสิ้นสุดไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
- ผู้ปล่อยตัว มีอำนาจควบคุมการแข่งขันอย่างเต็มที่ เมื่อได้รับสัญญาณมือจากผู้ตัดสินชี้ขาด การปล่อยตัวแต่ละรายการผู้ปล่อยตัวจะอยู่หางจากสระ 5 เมตร
- ผู้รับรายงานตัว ต้องเตรียมกรอกรายชื่อนักว่ายน้ำลงในแบบฟอร์มแต่ละรายการก่อนการแข่งขัน
- หัวหน้ากรรมการดูการกลับตัว ดูแลว่าเจ้าหน้าที่ดูการกลับตัวทุกคน ทำหน้าที่ในการแข่งขันเป็นอย่างดี เมื่อพบเห็นว่ามีการทำผิดกติกาจะต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินชี้ขาดทราบทันที่
- กรรมการดูการกลับตัว ต้องดูแลและเตือนเมื่อนักว่ายน้ำในลู่ของตนว่ายเข้ามาเหลือระยะทางอีก 5 เมตร
- กรรมการดูการฟาวล์ ต้องเป็นผู้เข้าใจในกติกาเป็นอย่างดี และจะต้องช่วยดูการกลับตัวจากผู้ช่วยกรรมการกลับตัว และจะต้องทำการบันทึกการทำผิดกติกาของแต่ละลู่ ให้ต่อผู้ตัดสินชี้ขาด
- หัวหน้าผู้จับเวลา ต้องเก็บรวบรวมแบบฟอร์มบันทึกเวลาของกรรมการจับเวลาทุกคน ในกรณีที่นาฬิกาจับเวลาไม่สามารถจับเวลาได้ หัวหน้าผู้จับเวลาอาจทำการตรวจสอบนาฬิกาเรือนนั้น
- กรรมการจับเวลา นาฬิกา แต่ละเรือนจะต้องได้รับจากคณะกรรมการดำเนินการแข่งขัน จะต้องเดินเวลาเมื่อมีสัญญาณเริ่ม และต้องหยุดเวลาเมื่อผู้เข้าแข่งขันในลู่ว่ายของเขาได้สิ้นสุดการว่ายที่สมบูรณ์
- หัวหน้ากรรมการเส้นชัย เป็นผู้มอบหมายให้กรรมการเส้นชัยแต่ละคนอยู่ในตำแหน่งที่กำหนดไว้ และกรรมการเส้นชัยจะรวบรวมข้อมูลลำดับที่ให้หัวหน้ากรรมการเส้นชัย หัวหน้ากรรมการเส้นชัยจะต้องนำส่งผลต่อผู้ตัดสินชี้ขาด และจะต้องบันทึกข้อมูลการแข่งขันที่ใบบันทึกด้วยเครื่องอัตโนมัติ ภายหลังการแข่งขันแต่ละรายการสิ้นสุด
- กรรมการเส้นชัย มีหน้าที่กดปุ่มสัญญาณเท่านั้นจะต้องไม่ทำหน้าที่ก้าวก่ายการจับเวลาในรายการเดียวกัน
- เจ้าหน้าที่ควบคุมการแข่งขัน รับผิดชอบตรวจสอบผลการแข่งขัน กรรมการทุกคนจะต้องตัดสินใจด้วยตัวของตัวเอง นอกเสียจากว่าปัญหานั้นๆ กติกาได้บอกไว้อย่างชัดเจนแล้ว
การจับเวลา
- ให้มีจุดทศนิยม 2 ตำแหน่ง
- ถ้านาฬิกาจับเวลา 2 ใน 3 เรือน เท่ากันให้ใช้การจับเวลานั้น
- ถ้านาฬิกาทั้ง 3 เรือนนั้น ไม่ตรงกัน ให้ใช้เวลาของนาฬิกาที่เป็นเวลาที่เป็นทางการ

แนะนำการดูว่ายน้ำ
1. การจัดเข้าลู่ว่ายในรอบคัดเลือกและรอบชิงชนะเลิศ
     1.1 การแข่งขันอื่นๆ อาจใช้ระบบจับฉลากเป็นเครื่องกำหนดตำแหน่งลู่ว่ายของผู้เข้าแข่งขันได้
     1.2 ถ้าเป็นการแข่งขันระดับนานาชาติ การจัดเข้าสู่ลู่ว่าย ดังนี้
     - รอบคัดเลือก ผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะต้องแจ้งเวลาว่ายของตนไม่เกิน 12 เดือน ไว้ในใบสมัครใครไม่แจ้งถือว่ามีเวลาช้าที่สุด และอยู่ในลำดับสุดท้ายของบัญชีรายชื่อ ถ้ามีหลายคนให้ตัดสินโดยการจับฉลาก
     - ถ้ามี 2 ชุด ผู้มีเวลาเร็วที่สุดให้อยู่ในชุดที่ 2 ให้ผู้มีเวลาเร็วคนที่ 2 อยู่ในชุดที่ 1 ผู้มีเวลาเร็วเป็นคนที่ 3 ให้อยู่ในชุดที่ 2 และผู้มีเวลาเร็วคนที่ 4 อยู่ในชุดที่ 1 สลับไปเรื่อยๆ
     - ถ้ามี 3 ชุด ผู้มีเวลาเร็วที่สุดอยู่ในชุดที่ 3 ผู้ที่มีเวลาเร็วคนที่ 2 อยู่ในชุดที่ 2 ผู้มีเวลาเร็วคนที่ 3 อยู่ในชุดที่ 1 สลับไปเรื่อย (ชุด 3-2-1)
     - ถ้ามี 4 ชุด หรือมากกว่า ใน 3 ชุด ให้จัดเหมือนกันกับชุดที่ 3 โดยที่ผู้มีเวลาเร็วที่สุดให้ไปชุดที่ 4 (ชุด 4-3-2-1) การกำหนดลู่ของการว่าย 50 เมตร ลู่หมายเลข 1 จะอยู่ทางขวาของสระเมื่อยืนหันหน้าไปทางปลายสระ ผู้มีเวลาเร็วที่สุดจะอยู่กลางสระลู่ที่ 3 หรือ 4 คนที่มีเวลารองลงไปให้อยู่ทาง...มือของคนแรก คนที่มีเวลารองลงไปอีกให้อยู่ทาง...มือของคนแรก สลับกันไปเรื่อยๆ ถ้าเวลาเท่ากันให้จับฉลาก
2. การเริ่มต้นแตกต่างกัน ดังนี้
     2.1 ฟรีสไตล์ , กบ และผีเสื้อ จะต้องเริ่มโดยการกระโดดพุ่งตัวออกจากแท่นกระโดดลงไปในน้ำ
     2.2 กรรเชียง และผลัดผสม จะต้องเริ่มจากในน้ำ
     2.3 การเริ่มต้นที่มีการฟาวล์เกิดขึ้น จะต้องมีเสียงสัญญาณการฟาวล์ และจะต้องปล่อยเชือกฟาวล์ลงไปในน้ำด้วย
3. แบบของการว่าย มีหลายแบบ คือ
     3.1 การว่ายแบบฟรีสไตล์ คือการว่ายแบบใดก็ได้ยกเว้นการว่ายแบบเดี่ยวผสม หรือผลัดผสมจะต้องว่ายนอกเหนือจากการว่ายแบบกรรเชียง, กบ หรือผีเสื้อ การกลับตัวก็สามารถที่จะใช้ส่วนหนึ่งส่วนใดแตะขอบสระได้
     3.2 การว่ายแบบกรรเชียง จะต้องถีบตัวออกในลักษณะนอนหงาย ต้องว่ายในท่านอนหงายตลอดการแข่งขัน บางส่วนของร่างกายต้องพ้นผิวน้ำตลอดการแข่งขัน ยกเว้นเวลากลับตัวจะจมน้ำไม่เกิน 15 เมตร เมื่อกลับตัวแล้วจะต้องมีส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายแตะผนังสระและเข้าเส้นชัยในท่านอนหงาย
     3.3 การว่ายแบบกบ จะต้องอยู่ในลักษณะคว่ำหน้า แขนทั้ง 2 ข้างจะต้องเคลื่อนไหวไปพร้อมกัน มือทั้ง 2 ต้องพุ้งไปข้างหน้าพร้อมกันส่วนข้อศอกอยู่ใต้ผิวน้ำเมื่อดึงมือไปข้างหน้าพร้อมกันจะต้องอยู่ใต้ผิวน้ำ ขาทั้ง 2 ต้องเคลื่อนที่พร้อมกัน การเตะเท้า เตะไปด้านหลัง การกลับตัว การเข้าเส้นชัยต้องแตะด้วยมือทั้ง 2 ข้างพร้อมกัน การดึงแขน 1 ครั้ง และการเตะขา 1 ครั้ง จะต้องมีบางส่วนของศีรษะโผล่พ้นระดับให้เห็น ยกเว้นการกลับตัวให้ดำน้ำได้ 1 ครั้ง
     3.4 การว่ายแบบผีเสื้อ จะต้องคว่ำหน้าตลอดระยะทาง ไม่ให้ม้วนตัวหงายกลับในการกลับตัว แขนทั้ง 2 จะต้องยกเหนือน้ำพร้อมๆ กัน การเข้าเส้นชัย และการกลับตัวจะต้องแตะขอบสระด้วยมือทั้ง 2 พร้อมๆ กันดึงแขนใต้น้ำได้ 1 ครั้งเท่านั้น
     3.5 การว่ายแบบผสม
          3.5.1 การว่ายแบบเดี่ยวผสม ผู้เข้าแข่งขันจะต้องว่าย 4 แบบ ตามลำดับ ผีเสื้อ, กรรเชียง, กบ, และฟรีสไตล์
          3.5.2 การว่ายแบบผลัดผสม มีผู้เข้าแข่งขัน 4 คน ต้องว่ายคนละ 1 แบบ ตามลำดับ คือ กรรเชียง, กบ, ผีเสื้อ และฟรีสไตล์
4. การแข่งขัน
ผู้เข้าแข่งขันจะต้องว่ายตลอดระยะทางที่กำหนดไว้ ต้องเข้าเส้นชัยตามลู่เดิมที่เขาตั้งต้น การกลับตัวต้องกระทำกับผนังหรือขอบสระเท่านั้น ไม่อนุญาตให้เดินหรือก้าวที่ก้นสระ ผู้ที่ว่ายเข้าไปในลู่ของคนอื่นจะถูกปรับให้แพ้ การแข่งขันว่าย

1162437758
           กีฬาว่ายน้ำ (Swimming) ถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง เพราะมนุษย์สามารถว่ายน้ำได้ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์ที่ตั้งภูมิลำเนาอยู่ตามชายทะเล แม่น้ำ ลำคลอง และที่ราบลุ่มต่างๆ เช่น พวกเอสซีเรีย อียิปต์ กรีก และโรมัน มีการฝึกหัดว่ายน้ำกันมาตั้งแต่ก่อนคริสตกาล เพราะมีผู้พบภาพวาดเกี่ยวกับการว่ายน้ำในถ้ำบนภูเขาแถบทะเลทรายลิบยาน
          การว่ายน้ำในสมัยนั้นเพียงเพื่อให้สามารถว่ายน้ำข้ามไปยังฝั่งตรงข้ามได้ หรือเมื่อเกิดอุทกภัยน้ำท่วมป่าและที่อยู่อาศัยก็สามารถพาตัวไปในที่น้ำท่วมไม่ถึงได้อย่างปลอดภัย
 การว่ายน้ำได้มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน แต่มีหลักฐานบันทึกไว้ไม่นานนัก Ralph Thomas ให้ชื่อแบบว่ายน้ำที่มนุษย์ใช้ว่ายกันมาตั้งแต่เดิมว่า ฮิวแมน สโตร์ก (Human stroke) นอกจากนี้พวกชนชาติสลาฟและพวกสแกนดิเนเวียรู้จักการว่ายน้ำอีกแบบหนึ่ง โดยใช้เท้าเคลื่อนไหวในน้ำคล้ายกบว่ายน้ำ หรือที่เรียกว่าฟล็อกคิก (Flogkick) แต่วิธีการเคลื่อนไหวของท่าแบบนี้จะทำให้ว่ายน้ำได้ไม่เร็วนัก
          การแข่งขันว่ายน้ำครั้งแรกได้จัดขึ้น วูลวิช บาร์ท (Woolwich Baths) ใกล้กับกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2416 การแข่งขันครั้งนั้นมีการแข่งขันเพียงแบบเดียวคือ แบบฟรีสไตล์ (Free style) โดยผู้ว่ายน้ำแต่ละคนจะว่ายแบบใดก็ได้ ในการแข่งขันครั้งนี้ J. Arhur Trudgen เป็นผู้ได้รับชัยชนะ โดยเขาได้ว่ายแบบเดียวกับพวกอินเดียแดงในอเมริกาใต้ คือแบบยกแขนกลับเหนือน้ำ ซึ่งเป็นวิธีการว่ายน้ำของเขาได้กลายเป็นแบบที่ได้รับความนิยมมากจนได้ชื่อว่า ท่าว่ายน้ำแบบทรัดเจน (Trudgen stroke)
         ประชาชนชาวโลกได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับการว่ายน้ำเพิ่มมากขึ้น เมื่อเรือเอก Mathew Webb ได้ว่ายน้ำข้ามช่องแคบอังกฤษจากเมืองโดเวอร์ คาเลียส เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2418 โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 21 ชั่วโมง 45 นาที ด้วยการว่ายแบบกบ (Breast stroke) ข่าวความสำเร็จอันนี้ได้สร้างความพิศวงและตื่นเต้นไปทั่วโลก ต่อมาเด็กชาวอเมริกันชื่อ Gertude Ederle ได้ว่ายน้ำข้ามช่องแคบอังกฤษ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2469 ทำเวลาได้ 14 ชั่วโมง 31 นาที โดยว่ายน้ำแบบท่าวัดวา (Crawa stroke) จะเห็นได้ว่าในชั่วระยะเวลา 50 ปี
          การว่ายน้ำได้วิวัฒนาการก้าวหน้าขึ้นเป็นอย่างมาก ถ้าหากได้พิจารณาถึงเวลาของคนทั้งสองที่ทำได้ แบบและวิธีว่ายน้ำได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดความเร็วขึ้นเสมอ ในบรรดานักว่ายน้ำทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวแลนเคเชียร ์และออสเตรเลีย ได้ดัดแปลงวิธีว่ายน้ำแบบทรัดเจน ซึ่งก็ได้รับผลดีในเวลาต่อมา กล่าวคือ Barney Kieran ชาวออสเตรเลียและ T. S. Battersby ชาวอังกฤษ ได้ว่ายน้ำแบบที่ปรับปรุงมาจากทรัดเจน เป็นผู้ครองตำแหน่งชนะเลิศของโลกเมื่อปี พ.ศ. 2449-2415
        Alex Wickham ชาวเกาะโซโลมอนเป็นผู้ริเริ่มการว่ายน้ำแบบท่าวัดวาและเป็นผู้ครองตำแหน่งชนะเลิศของโลก ระยะทาง 50 หลา เขาได้กล่าวว่าเด็กโซโลมอนทุกคนว่ายน้ำแบบนี้ทั้งนั้น ต่อมาท่าว่ายน้ำแบบวัดวาจึงเป็นที่นิยมฝึกหัดกันโดยทั่วไป
        กีฬาว่ายน้ำได้จัดเข้าไว้ในการแข่งขันโอลิมปิกเมื่อปี พ.ศ. 2436 และได้จัดการแข่งขันมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุดังกล่าวกีฬาว่ายน้ำก็ได้รับความสนใจจากคนทั่วไป และถือเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก มีการพัฒนากีฬาว่ายน้ำให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นเป็นลำดับ โดยมีผู้คิดแบบและประเภทของการว่ายน้ำเพื่อความสนุกสนาน และความตื่นเต้นในการแข่งขันมากขึ้น

กติกาว่ายน้ำ
การตัดสิน
ลำดับที่ผู้แข่งขันทุกคนจะกำหนดโดยการเปรียบเทียบเวลาที่เป็นทางการของแต่ละคนถ้าเวลาทางการเท่ากันหลายๆ คน ก็ให้ลำดับที่เท่ากันในรายการนั้นๆ ได้
ผู้ควบคุมการแข่งขัน
 ผู้ตัดสินชี้ขาด   1   คน
 กรรมการดูฟาวล์   4   คน
 ผู้ปล่อยตัว    2   คน
 หัวหน้ากรรมการดูการกลับตัว (อยู่คนละด้านของสระ)   2   คน
 กรรมการดูการกลับตัว (อยู่คนละด้านของสระ) 2   คน
 หัวหน้าผู้บันทึก   1   คน
 ผู้บันทึก    1   คน
 ผู้รับรายงานตัว   2   คน
 กรรมการเชือกฟาวล์   1   คน
 ผู้ประกาศ    1   คน
 จากการแข่งขันไม่สามารถใช้อุปกรณ์แบบอัตโนมัติได้ จะต้องมีการแต่ตั้งกรรมการเจ้าหน้าที่เพิ่มขึ้น คือ
 หัวหน้าผู้จับเวลา   1   คน
 ผู้จับเวลาลู่ละ    3   คน
 (กรรมการจับเวลาสำรอง 2 คน)
 หัวหน้าเส้นชัย    1   คน
 กรรมการเส้นชัย (อย่างน้อย)  1   คน
หน้าที่
- ผู้ตัดสินชี้ขาด เป็นผู้ควบคุมและมีอำนาจสูงที่สุด โดยจะมอบหมายหน้าที่ และให้คำชี้แนะกับเจ้าหน้าที่ต่างๆ จะต้องตัดสินปัญหาทุกชนิดการตัดสินขั้นสุดท้ายถือเป็นสิ้นสุดไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
- ผู้ปล่อยตัว มีอำนาจควบคุมการแข่งขันอย่างเต็มที่ เมื่อได้รับสัญญาณมือจากผู้ตัดสินชี้ขาด การปล่อยตัวแต่ละรายการผู้ปล่อยตัวจะอยู่หางจากสระ 5 เมตร
- ผู้รับรายงานตัว ต้องเตรียมกรอกรายชื่อนักว่ายน้ำลงในแบบฟอร์มแต่ละรายการก่อนการแข่งขัน
- หัวหน้ากรรมการดูการกลับตัว ดูแลว่าเจ้าหน้าที่ดูการกลับตัวทุกคน ทำหน้าที่ในการแข่งขันเป็นอย่างดี เมื่อพบเห็นว่ามีการทำผิดกติกาจะต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินชี้ขาดทราบทันที่
- กรรมการดูการกลับตัว ต้องดูแลและเตือนเมื่อนักว่ายน้ำในลู่ของตนว่ายเข้ามาเหลือระยะทางอีก 5 เมตร
- กรรมการดูการฟาวล์ ต้องเป็นผู้เข้าใจในกติกาเป็นอย่างดี และจะต้องช่วยดูการกลับตัวจากผู้ช่วยกรรมการกลับตัว และจะต้องทำการบันทึกการทำผิดกติกาของแต่ละลู่ ให้ต่อผู้ตัดสินชี้ขาด
- หัวหน้าผู้จับเวลา ต้องเก็บรวบรวมแบบฟอร์มบันทึกเวลาของกรรมการจับเวลาทุกคน ในกรณีที่นาฬิกาจับเวลาไม่สามารถจับเวลาได้ หัวหน้าผู้จับเวลาอาจทำการตรวจสอบนาฬิกาเรือนนั้น
- กรรมการจับเวลา นาฬิกา แต่ละเรือนจะต้องได้รับจากคณะกรรมการดำเนินการแข่งขัน จะต้องเดินเวลาเมื่อมีสัญญาณเริ่ม และต้องหยุดเวลาเมื่อผู้เข้าแข่งขันในลู่ว่ายของเขาได้สิ้นสุดการว่ายที่สมบูรณ์
- หัวหน้ากรรมการเส้นชัย เป็นผู้มอบหมายให้กรรมการเส้นชัยแต่ละคนอยู่ในตำแหน่งที่กำหนดไว้ และกรรมการเส้นชัยจะรวบรวมข้อมูลลำดับที่ให้หัวหน้ากรรมการเส้นชัย หัวหน้ากรรมการเส้นชัยจะต้องนำส่งผลต่อผู้ตัดสินชี้ขาด และจะต้องบันทึกข้อมูลการแข่งขันที่ใบบันทึกด้วยเครื่องอัตโนมัติ ภายหลังการแข่งขันแต่ละรายการสิ้นสุด
- กรรมการเส้นชัย มีหน้าที่กดปุ่มสัญญาณเท่านั้นจะต้องไม่ทำหน้าที่ก้าวก่ายการจับเวลาในรายการเดียวกัน
- เจ้าหน้าที่ควบคุมการแข่งขัน รับผิดชอบตรวจสอบผลการแข่งขัน กรรมการทุกคนจะต้องตัดสินใจด้วยตัวของตัวเอง นอกเสียจากว่าปัญหานั้นๆ กติกาได้บอกไว้อย่างชัดเจนแล้ว
การจับเวลา
- ให้มีจุดทศนิยม 2 ตำแหน่ง
- ถ้านาฬิกาจับเวลา 2 ใน 3 เรือน เท่ากันให้ใช้การจับเวลานั้น
- ถ้านาฬิกาทั้ง 3 เรือนนั้น ไม่ตรงกัน ให้ใช้เวลาของนาฬิกาที่เป็นเวลาที่เป็นทางการ

แนะนำการดูว่ายน้ำ
1. การจัดเข้าลู่ว่ายในรอบคัดเลือกและรอบชิงชนะเลิศ
     1.1 การแข่งขันอื่นๆ อาจใช้ระบบจับฉลากเป็นเครื่องกำหนดตำแหน่งลู่ว่ายของผู้เข้าแข่งขันได้
     1.2 ถ้าเป็นการแข่งขันระดับนานาชาติ การจัดเข้าสู่ลู่ว่าย ดังนี้
     - รอบคัดเลือก ผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะต้องแจ้งเวลาว่ายของตนไม่เกิน 12 เดือน ไว้ในใบสมัครใครไม่แจ้งถือว่ามีเวลาช้าที่สุด และอยู่ในลำดับสุดท้ายของบัญชีรายชื่อ ถ้ามีหลายคนให้ตัดสินโดยการจับฉลาก
     - ถ้ามี 2 ชุด ผู้มีเวลาเร็วที่สุดให้อยู่ในชุดที่ 2 ให้ผู้มีเวลาเร็วคนที่ 2 อยู่ในชุดที่ 1 ผู้มีเวลาเร็วเป็นคนที่ 3 ให้อยู่ในชุดที่ 2 และผู้มีเวลาเร็วคนที่ 4 อยู่ในชุดที่ 1 สลับไปเรื่อยๆ
     - ถ้ามี 3 ชุด ผู้มีเวลาเร็วที่สุดอยู่ในชุดที่ 3 ผู้ที่มีเวลาเร็วคนที่ 2 อยู่ในชุดที่ 2 ผู้มีเวลาเร็วคนที่ 3 อยู่ในชุดที่ 1 สลับไปเรื่อย (ชุด 3-2-1)
     - ถ้ามี 4 ชุด หรือมากกว่า ใน 3 ชุด ให้จัดเหมือนกันกับชุดที่ 3 โดยที่ผู้มีเวลาเร็วที่สุดให้ไปชุดที่ 4 (ชุด 4-3-2-1) การกำหนดลู่ของการว่าย 50 เมตร ลู่หมายเลข 1 จะอยู่ทางขวาของสระเมื่อยืนหันหน้าไปทางปลายสระ ผู้มีเวลาเร็วที่สุดจะอยู่กลางสระลู่ที่ 3 หรือ 4 คนที่มีเวลารองลงไปให้อยู่ทาง...มือของคนแรก คนที่มีเวลารองลงไปอีกให้อยู่ทาง...มือของคนแรก สลับกันไปเรื่อยๆ ถ้าเวลาเท่ากันให้จับฉลาก
2. การเริ่มต้นแตกต่างกัน ดังนี้
     2.1 ฟรีสไตล์ , กบ และผีเสื้อ จะต้องเริ่มโดยการกระโดดพุ่งตัวออกจากแท่นกระโดดลงไปในน้ำ
     2.2 กรรเชียง และผลัดผสม จะต้องเริ่มจากในน้ำ
     2.3 การเริ่มต้นที่มีการฟาวล์เกิดขึ้น จะต้องมีเสียงสัญญาณการฟาวล์ และจะต้องปล่อยเชือกฟาวล์ลงไปในน้ำด้วย
3. แบบของการว่าย มีหลายแบบ คือ
     3.1 การว่ายแบบฟรีสไตล์ คือการว่ายแบบใดก็ได้ยกเว้นการว่ายแบบเดี่ยวผสม หรือผลัดผสมจะต้องว่ายนอกเหนือจากการว่ายแบบกรรเชียง, กบ หรือผีเสื้อ การกลับตัวก็สามารถที่จะใช้ส่วนหนึ่งส่วนใดแตะขอบสระได้
     3.2 การว่ายแบบกรรเชียง จะต้องถีบตัวออกในลักษณะนอนหงาย ต้องว่ายในท่านอนหงายตลอดการแข่งขัน บางส่วนของร่างกายต้องพ้นผิวน้ำตลอดการแข่งขัน ยกเว้นเวลากลับตัวจะจมน้ำไม่เกิน 15 เมตร เมื่อกลับตัวแล้วจะต้องมีส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายแตะผนังสระและเข้าเส้นชัยในท่านอนหงาย
     3.3 การว่ายแบบกบ จะต้องอยู่ในลักษณะคว่ำหน้า แขนทั้ง 2 ข้างจะต้องเคลื่อนไหวไปพร้อมกัน มือทั้ง 2 ต้องพุ้งไปข้างหน้าพร้อมกันส่วนข้อศอกอยู่ใต้ผิวน้ำเมื่อดึงมือไปข้างหน้าพร้อมกันจะต้องอยู่ใต้ผิวน้ำ ขาทั้ง 2 ต้องเคลื่อนที่พร้อมกัน การเตะเท้า เตะไปด้านหลัง การกลับตัว การเข้าเส้นชัยต้องแตะด้วยมือทั้ง 2 ข้างพร้อมกัน การดึงแขน 1 ครั้ง และการเตะขา 1 ครั้ง จะต้องมีบางส่วนของศีรษะโผล่พ้นระดับให้เห็น ยกเว้นการกลับตัวให้ดำน้ำได้ 1 ครั้ง
     3.4 การว่ายแบบผีเสื้อ จะต้องคว่ำหน้าตลอดระยะทาง ไม่ให้ม้วนตัวหงายกลับในการกลับตัว แขนทั้ง 2 จะต้องยกเหนือน้ำพร้อมๆ กัน การเข้าเส้นชัย และการกลับตัวจะต้องแตะขอบสระด้วยมือทั้ง 2 พร้อมๆ กันดึงแขนใต้น้ำได้ 1 ครั้งเท่านั้น
     3.5 การว่ายแบบผสม
          3.5.1 การว่ายแบบเดี่ยวผสม ผู้เข้าแข่งขันจะต้องว่าย 4 แบบ ตามลำดับ ผีเสื้อ, กรรเชียง, กบ, และฟรีสไตล์
          3.5.2 การว่ายแบบผลัดผสม มีผู้เข้าแข่งขัน 4 คน ต้องว่ายคนละ 1 แบบ ตามลำดับ คือ กรรเชียง, กบ, ผีเสื้อ และฟรีสไตล์
4. การแข่งขัน
ผู้เข้าแข่งขันจะต้องว่ายตลอดระยะทางที่กำหนดไว้ ต้องเข้าเส้นชัยตามลู่เดิมที่เขาตั้งต้น การกลับตัวต้องกระทำกับผนังหรือขอบสระเท่านั้น ไม่อนุญาตให้เดินหรือก้าวที่ก้นสระ ผู้ที่ว่ายเข้าไปในลู่ของคนอื่นจะถูกปรับให้แพ้ การแข่งขันว่ายผลัดจะต้องมีทีมละ 4 คน และถ้าผู้เล่นคนใดกระโดดออกจากแท่นก่อนที่เพื่อนร่วมทีมจะว่ายเข้ามาแตะผนังสระ จะต้องให้ออกจากการแข่งขัน ยกเว้นขากลับมาแตะอีกครั้งหนึ่ง...... โดยไม่ต้องขึ้นไปกระโดด ผู้ว่ายผลัดเมื่อว่ายเสร็จแล้ว จะต้องขึ้นจากสระทันที
 ชนิดของการแข่งขัน (จะมีการบันทึกเป็นสถิติโลก)
 ฟรีสไตล์  50, 100, 200, 400, 800 และ 1,500  เมตร
 กรรเชียง  100 และ 200   เมตร
 กบ  100 และ 200   เมตร
 ผีเสื้อ  100 และ 200   เมตร
 เดี่ยวผสม  200 และ 400   เมตร
 ผลัดฟรีสไตล์ 4 x 100 และ 4 x 200    เมตร
 ผลัดผสม  4 x 100    เมตร
ผลัดจะต้องมีทีมละ 4 คน และถ้าผู้เล่นคนใดกระโดดออกจากแท่นก่อนที่เพื่อนร่วมทีมจะว่ายเข้ามาแตะผนังสระ จะต้องให้ออกจากการแข่งขัน ยกเว้นขากลับมาแตะอีกครั้งหนึ่ง...... โดยไม่ต้องขึ้นไปกระโดด ผู้ว่ายผลัดเมื่อว่ายเสร็จแล้ว จะต้องขึ้นจากสระทันที
 ชนิดของการแข่งขัน (จะมีการบันทึกเป็นสถิติโลก)
 ฟรีสไตล์  50, 100, 200, 400, 800 และ 1,500  เมตร
 กรรเชียง  100 และ 200   เมตร
 กบ  100 และ 200   เมตร
 ผีเสื้อ  100 และ 200   เมตร
 เดี่ยวผสม  200 และ 400   เมตร
 ผลัดฟรีสไตล์ 4 x 100 และ 4 x 200    เมตร
 ผลัดผสม  4 x 100    เมตร